
พฤติกรรมเด็กถดถอย
� � �เด็กวัย 1-3 ปี แม้วัยนี้จะสามารถเข้าอกเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นอย่างดี แต่บางครั้งอาจมีเหตุการที่ทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ อย่างเช่น การถูกดุ โดนลำเอียงจากญาติผู้ใหญ่ การโดนเปรียบเทียบ เป็นต้น��หากลูกระบายออกมาไม่เป็นอาจทำให้เก็บกดแบบสะสม และนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวหรือถดถอยในที่สุด และแสดงออกมาโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้�
ต้นเหตุพฤติกรรมถดถ้อย
เด็กเกิดความคับข้องใจ หรือติดอยู่ในหัวใจ หากลูกระบายออกมาไม่เป็นอาจทำให้เก็บกดแบบสะสม และนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวหรือถดถอย ขาดความมั่นใจในตัวเอง เช่น น้อยใจเมื่อแม่สนใจน้องคนใหม่มากกว่า
ไม่เห็นคุณค่าตนเอง อย่างเช่น ลูกคนโตที่เชื่อว่าน้องดีและเก่งกว่าตัวเองเสมอ ยิ่งถ้าพ่อแม่สอนให้ยอมน้องทุกเรื่อง ลูกจะกลายเป็นคนขี้ใจน้อยและมักจะทำในสิ่งที่เรียกว่าไม่รักตัวเองได้ง่าย เช่น ยอมติดยาเพราะเพื่อนทำให้เขารู้สึกมีคุณค่า
เรียกร้องความสนใจ ในกรณีนี้น้องหนูจะไม่แสดงออกโดยการโวยวาย อาละวาด หรือก้าวร้าว ตรงกันข้ามจะใช้ความอ่อนแอขอความเห็นใจแทน เช่น ดูท่าทางเป็นเด็กไม่แข็งแรง ป่วยง่าย มีอาการปวดหัวบ่อยๆ
การเปรียบเทียบระหว่างพี่น้อง โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่ไปสะกิดใจน้องหนู เช่น พัฒนาการการเรียนรู้ หน้าตา หรือความเชื่อที่ว่าลูกคนไหนนำโชคมากกว่ากัน
วิธีป้องกันพฤติกรรมถดถอย
- ลดความลำเอียงและความเหลื่อมล้ำ เพราะลูกรับรู้ได้ว่าใครเป็นลูกคนโปรด
- หาโอกาสให้ได้อยู่พร้อมหน้ากัน แทนที่จะต่างคนต่างแยกกิจกรรมกันทำ เพื่อให้ลูกคนโตได้แสดงบทฮีโร่ดูแลน้องบ้าง
- เพิ่มความมั่นคงทางอารมณ์ให้ลูก ด้วยท่าทางสัญลักษณ์ที่ทำให้รู้ว่าคุณยังรักอยู่ เช่น โอบกอด หอมแก้มก่อนนอน หรืออื่นๆ ที่คุณเคยทำเป็นประจำ
- ให้คำชมเชยเมื่อลูกทำอะไรได้เอง เพื่อป้องกันพฤติกรรมถดถอย
- อย่าพูดเล่าความผิด หรือเรื่องหน้าแตกของลูกต่อหน้าคนอื่นบ่อยๆ และเห็นเป็นเรื่องตลกประจำวง
- อย่าสอนลูกให้ยอมน้องด้วยเหตุผลเพราะเขาเป็นน้อง แต่ควรมีคำพูดอื่นด้วยเช่น " น้องยังทำเองไม่เป็น ถ้าลูกช่วยน้อง อีกหน่อยน้องต้องทำเองเป็น " และคุณควรแสดงบทตุลาการบ้าง เมื่อน้องเป็นคนทำผิดเสียเอง
ขอบคุณบทความจาก�momypedia.com
รูปภาพจาก Internet
|